Safety Sub Assessor (SSA)

รุ่น 4 : 28-30 มี.ค. 2561, รุ่น 5 : 26-28 มิ.ย. 2561, จัดสอบ SSA : 17 ก.ค. 2561 , รุ่น 6 : 19-21 ก.ย. 2561, รุ่น 7 : 19-21 ธ.ค. 2561, จัดสอบ SSA 15 ม.ค. 2562
ณ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ซ.พัฒนาการ 18


หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรผู้ประเมินความปลอดภัยด้านเครื่องจักรขั้นกลาง ที่ต่อมาจากหลักสูตรผู้ประเมินความปลอดภัยด้านเครื่องจักรขั้นต้น (Safety Basic Assessor : SBA) ซึ่งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น โดยความร่วมมือของสมาคมอุตสาหกรรมอุปกรณ์ควบคุมทางไฟฟ้าญี่ปุ่น (Nippon Electric Control Equipment Industries Association – NECA) โดยได้บรรจุเนื้อหาความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับการทำงานกับเครื่องจักรที่เจาะลึกยิ่งขึ้น ครอบคลุมไปถึงการคำนวณเพื่อออกแบบระยะปลอดภัยในกรณีต่างๆ และวิธีการทำการประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในระดับ Safety Assessor (SA) ต่อไป


ติดต่อเจ้าหน้าที่

ติดต่อสอบถามรายละเอียด/สำรองที่นั่ง โทร. 02-7173000-29 ต่อ 635 (คุณทัศนีย์วรรณ), 637 (ทศพร) e-mail : thassaneewan@tpa.or.th, thossaporn@tpa.or.th

เนื้อหาในหลักสูตร SSA

  • มาตรการความปลอดภัย 3 ขั้นตอน (3-Step Method) เชิงลึก
  • จรรยาบรรณของวิศวกรและกรณีศึกษา
  • แนวคิดและหลักการการประเมินสมรรถนะ (Performance Level) ความปลอดภัยของระบบควบคุม
  • การป้องอันตรายจากไฟฟ้าของอุปกรณ์เครื่องจักร (Electrical Hazard Prevention)
  • หลักการป้องกันอันตรายจากความผิดพลาดในการทำงานทางการยศาสตร์ (Human Engineering)
  • แนวคิดพื้นฐานและตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการออกแบบการ์ดและอินเตอร์ล็อค
  • วิธีกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์นิรภัยตาม ISO13855 และข้อกำหนดอื่นๆของอุปกรณ์นิรภัย
  • การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรโดยใช้แบบฟอร์มประเมินความเสี่ยง
SSA - Safety Sub Assessor

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้สามารถอธิบายมาตรการความปลอดภัยที่ใช้กับเครื่องจักรในระดับที่ลึกขึ้นได้ (อ้างอิง ISO12100)
  2. เพื่อให้ทราบถึงจรรยาบรรณของวิศวกร และเพื่อให้ตระหนักถึงจิตสำนึกของการประกอบอาชีพวิศวกร
  3. เพื่อให้สามารถอธิบายการประเมินสมรรถนะ (Performance Level) ความปลอดภัยของระบบควบคุมได้
  4. เพื่อให้สามารถอธิบายแนวคิดการป้องอันตรายจากไฟฟ้าของอุปกรณ์เครื่องจักร (Electrical Hazard Prevention)ได้
  5. เพื่อให้สามารถอธิบายหลักการป้องกันอันตรายจากความผิดพลาดในการทำงานทางการยศาสตร์ (Human Engineering) ได้
  6. เพื่อให้สามารถอธิบายแนวคิดพื้นฐานและทราบตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการออกแบบการ์ดและอินเตอร์ล็อค
  7. เพื่อให้สามารถอธิบายวิธีการคำนวณเพื่อกำหนดตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์นิรภัยได้ (อ้างอิง ISO 13855)
  8. เพื่อให้สามารถทำการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรได้อย่างเป็นรูปธรรม

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับผู้บริหาร, ระดับวิชาชีพ และระดับหัวหน้างาน
  • วิศวกรผู้ออกแบบหรือสั่งซื้อเครื่องจักร
  • วิศวกรโรงงานหรือ ผู้ที่มีหน้าที่ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
  • ผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการเพิ่มความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

คุณสมบัติ

ผู้ที่ผ่านการอบรม และสอบผ่านในระดับ SBA มาแล้วเท่านั้น

อัตราค่าลงทะเบียน (ราคานี้ยังไม่รวม VAT 7%)

  • สมาชิก 6,200 บาท
  • บุคคลทั่วไป 6,500 บาท

ติดต่อเจ้าหน้าที่


สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ Enterprise Diagnosis & Consultancy Department สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ติดต่อสอบถามรายละเอียด/สำรองที่นั่ง โทร. 02-7173000-29 ต่อ 635 (คุณทัศนีย์วรรณ), 637 (ทศพร) e-mail : thassaneewan@tpa.or.th, thossaporn@tpa.or.th


คำสำคัญ: SSA Safety Sub Assessor ผู้ประเมินความปลอดภัยด้านเครื่องจักรขั้นกลาง ความปลอดภัยด้านเครื่องจักร NECA on Electric Control Equipment Industries Association การคำนวณเพื่อออกแบบระยะปลอดภัย SBA Safety Basic Assessor SA Safety Assessor