สถิติเพื่อการตัดสินใจในยุคอุตสาหกรรม 4.0 : แนวทางกลไกทางสถิติ
Statistical for Engineer : Mechanism Approach

เมื่ออุตสาหกรรมมีการขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค Cyber - Physical System (CPS) ตาม Thailand 4.0 การดำเนินอุตสาหกรรมทั้งภาคผลิตและภาคบริการมีการดำเนินการด้วยระบบอัตโนมัติเกือบสมบูรณ์ กระบวนการได้มาซึ่งข้อมูลไม่เหมือนเดิม เราจะเห็นตัวเลข ค่าวัด ดัชนีต่างๆ ผ่านหน้าจอ โดยไม่ได้สัมผัสของจริง แต่ยังต้องดึงสารสนเทศเพื่อตัดสินใจ จึงมีความจำเป็นที่วิศวกรพันธุ์ใหม่จะต้องตัดสินใจด้วยแนวความคิด “Concept” มากกว่าการอาศัยข้อมูลทางกายภาพ

“สถิติ” ถือเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการทำความเข้าใจกับสารสนเทศจากข้อมูลจำนวนมาก (big data) เพื่อการตัดสินใจให้มีความถูกต้อง แม่นยำที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม การประมวลผลด้วยโปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูป อาทิ Minitab, JMP, SPSS ฯลฯ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อวิศวกร ก็มีโทษมหันต์ต่อการตัดสินใจ ถ้าวิศวกรไม่เคยเข้าใจในกลไกของการประมวลผลข้อมูลทางสถิติเลย เพราะเพียงแค่อาศัยการอ่านค่าวัดผลสุดท้ายของ Print Out จะทำให้การตัดสินใจจากผลลัพธ์ดังกล่าวมีความผิดพลาด และส่งผลต่อกระบวนการปฏิบัติการ (Operations Process) อย่างมาก

หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบเพื่อให้วิศวกรได้เข้าใจถึงกลไกทางสถิติด้วย Graphically Analysis เพื่อให้วิศวกรได้เข้าใจถึงกลไก (Mechanism) ของการประมวลผลก่อนการตัดสินใจจากผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์


รุ่น 1 : วันที่ 25 – 26 กันยายน และ วันที่ 3 – 5 ตุลาคม 2561 ณ ห้องสัมมนา โรงแรมอวานี เอเทรียม ถนนเพชรบุรีตัดใหม่

สำรองที่นั่งออนไลน์

ติดต่อสอบถามรายละเอียด/สำรองที่นั่ง
โทร. 02-7173000 ต่อ 790 (คุณพรรณศิริ) 793 (คุณขันทอง) e-mail : phansiri@tpa.or.th, khanthong@tpa.or.th

สถิติเพื่อการตัดสินใจในยุคอุตสาหกรรม 4.0 : แนวทางกลไกทางสถิติ Statistical for Engineer : Mechanism Approach

หัวข้อการอบรมและสัมมนา

  1. ความจำเป็นของการตัดสินใจทางสถิติสำหรับอุตสาหกรรมยุค Thailand 4.0
  2. กระบวนการตัดสินใจทางสถิติ
    • ความหมาย
    • ความสำคัญต่อกระบวนการทางธุรกิจ
  3. ข้อมูลและตัวแปรสุ่ม
    • คุณสมบัติเฉพาะและการประมวลผล
    • ฮีสโตแกรมและการแจกแจงความน่าจะเป็น
  4. การตัดสินใจด้วยการประมาณค่าพารามิเตอร์ของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ เพื่อการนิยามปัญหาและการรายงานผล (Enumerative Statistics)
    • การประมาณค่าแบบจุด
    • การประมาณค่าแบบช่วงความเชื่อมั่น
  5. การตัดสินใจเพื่อการยืนยันความสงสัยสำหรับการปรับปรุงคุณภาพ (Analytic Statistics)
    • การกำหนดข้อสงสัยสำหรับการปรับปรุง
    • การตัดสินใจเพื่อการยืนยันผล (วิธี t-test และ ANOVA)
  6. การกำหนดขนาดสิ่งตัวอย่างเพื่อการตัดสินใจ
  7. การวิเคราะห์ข้อมูลประจำวัน (Daily Data)
    • Regression Analysis
  8. กรณีศึกษา
  9. บทสรุป / ถาม-ตอบ

*** ผู้เข้าอบรมต้องนำ Notebook มาด้วย ***

วิธีการบรรยาย

  • การบรรยายแนวความคิด และวิธีการตัดสินใจ
  • การทำความเข้าใจกับกลไกการประมวลผลผ่านการใช้กราฟ รูปประกอบ
  • การประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ (Minitab) และการตัดสินใจตามขั้นตอน

วิทยากร

รองศาสตราจารย์กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ
อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมคุณภาพ) และที่ปรึกษาอธิการบดีด้านการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เจ้าของผลงานหนังสือ :
  • เขาให้ผมเป็น..ผู้จัดการคุณภาพ
  • การวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการ
  • หลักการการควบคุมคุณภาพ
  • TQM การบริหารเพื่อคุณภาพโดยรวม

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • วิศวกร นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ตลอดจนผู้จัดการระดับกลางที่ต้องมีการใช้การตัดสินใจจากข้อเท็จจริง (Managemet by Fact)
  • วิทยากรและอาจารย์ประจำวิชาสถิติวิศวกรรมและคิวซี ของสถาบันอุดมศึกษา

อัตราค่าลงทะเบียน

  • สมาชิก 16,000+Vat7% = 17,120 บาท
  • บุคคลทั่วไป 18,500+Vat7% = 19,795 บาท
  • รับจำนวน 20 ท่าน

สำรองที่นั่งออนไลน์


สอบถามรายละเอียดได้ที่ สายงานการศึกษาฝึกอบรมวินิจฉัยให้คำปรึกษา สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ติดต่อ โทร. 02-7173000 ต่อ 790 (คุณพรรณศิริ) 793 (คุณขันทอง) e-mail : phansiri@tpa.or.th, khanthong@tpa.or.th

คำสำคัญ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ อุตสาหกรรม 4.0 แนวทางกลไกทางสถิติ Statistical for Engineer Mechanism Approach Cyber - Physical System CPS Thailand 4.0 สถิติ สารสนเทศจากข้อมูลจำนวนมาก big data โปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูป Minitab JMP SPSS กระบวนการปฏิบัติการ Operations Process กลไกทางสถิติ Graphically Analysis กลไกของการประมวลผล การประมวลผลของคอมพิวเตอร์